วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม/ผลงานเด่น

โครงการเด่น
โครงการชุมชนรวมใจ ต้านภัยไข้เลือดออกปีงบประมาณ 2559
1. สรุปผลงานโดยย่อ
          เนื่องจาก ไข้เลือดออก เป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิตและในขณะเดียวกันก็เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยเริ่มจาก ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วิธีการดำเนินการ
1.    จัดทำโครงการ
2.    ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการแก่ทุกภาคส่วน
3.    ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต., อสม.,โรงเรียน,ผู้นำชุมชน
4.    ดำเนินการตามแผนงาน
-   อบรมให้ความรู้ชี้แจงการดำเนินงานร่วมกันแก่ อสม. จำนวน 78  คน 4 หมู่บ้าน
-   ประชุมประชาคมประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้าน ร่วมหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันของแต่ละหมู่บ้าน
-   จัดรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน,วัด ,โรงเรียนเดือนละ 1 ครั้งและคัดแยกขยะนำไปขายให้กับธนาคารขยะซึ่งจัดตั้งในทุกหมู่บ้าน
-   สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดย อสม.ทุกสัปดาห์และลงบันทึกในสมุดตรวจลูกน้ำยุงลาย แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ทุกสัปดาห์เพื่อให้คะแนนในการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำระดับสถานีอนามัย
-   ผู้นำชุมชนและ อสม.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าวทุกวันศุกร์
-   ประชุม War room เพื่อสรุปปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานทุก 2 สัปดาห์
-   เมื่อสิ้นสุดโครงการจะมอบรางวัลประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายระดับสถานีอนามัย
5.    สรุปผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
6.    รวบรวมปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการ วิเคราะห์หาสาเหตุและวางแผนแก้ไขต่อไป
2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
1.    ทีมสุขภาพของรพ.สต.บ้านดอนหลี่
2.    ผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
-   กลุ่มเด็ก 0-5 ปี
-   กลุ่มนักเรียน
-   กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
-   กลุ่มผู้พิการ,ด้อยโอกาส
-   กลุ่มผู้สูงอายุ
-   กลุ่มประชากรวัยทำงาน ,กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์
3. กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
      - อบต, อสม,กลุ่มแม่บ้าน,ผู้นำชุมชน, ร้านค้า,ร้านเสริมสวย,วัด,โรงเรียน,ศูนย์เด็กเล็ก,กลุ่มเยาวชน
4. เป้าหมาย
ประชาชนทั่วไปมีอัตราป่วยและอัตราป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกลดลง ดังนี้
1.    อัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2.    อัตราป่วยตายไม่เกิน ร้อยละ 0.2 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก
3.    ความชุกของยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลง ดังนี้
-  ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือน โดยให้มีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 25 ภาชนะในทุกบ้าน 100 หลังคาเรือนในทุกหมู่บ้าน หรือหมายถึงให้มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย Breteau Index (BI) ไม่เกิน 25
-  ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน โดยให้มีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 10 ภาชนะในทุกบ้าน 100 ภาชนะในทุกโรงเรียน หรือหมายถึงให้มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย Container Index (CI) ไม่เกิน 10
-  ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุขและสถานที่ราชการ โดยให้มีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายเท่ากับ 0 ในทุกบ้าน 100 หรือหมายถึงให้มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย Container Index (CI) เท่ากับ 0
5. ปัญหาและสาเหตุ
       ปัญหาในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความสะอาดทำให้ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ ทำให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออก  และอีกอย่างคือสภาพภูมิศาสตร์ในหมู่บ้านเป็นหลุม แอ่ง มีร่องน้ำ ทำให้ยากลำบากต่อการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
6. กิจกรรมการพัฒนา /การเปลี่ยนแปลงระบบ และการมีส่วนร่วมของทีมต่างๆ
       ในการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการทีมผู้เกี่ยวข้องให้การความร่วมมือ คือ
-  อปท.ให้การสนับสนุนงบประมาณในหมวดงบ สปสช.
-  ทีมสุขภาพของPCU เยี่ยมบ้านให้คำแนะนำแก่ชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี
-  ทีม อสม.ปฏิบัติงานสำรวจลูกน้ำยุงลายอย่างเต็มความสามารถ
-  ชุมชนให้ความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์
-  เจ้าหน้าที่เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนให้ชุมชนมีการพัฒนาได้ด้วยชุมชนเองอย่างยั่งยืน
7. วิธีการจัดเก็บข้อมูล / การวัดผลการเปลี่ยนแปลง  (ผลลัพธ์การดำเนินงาน)
-  ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือน โดยให้มีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 10 ภาชนะในทุกบ้าน 100 หลังคาเรือนในทุกหมู่บ้าน หรือหมายถึงให้มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย Breteau Indexไม่เกิน 10
-  ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน โดยให้มีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 10 ภาชนะในทุกบ้าน 100 ภาชนะในทุกโรงเรียน หรือหมายถึงให้มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย Container Index  ไม่เกิน 10
-  หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 4 หมู่บ้านไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก
-  ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ ตระหนัก ใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนมากขึ้น จะเห็นได้จากทุกวันศุกร์ผู้นำชุมชนประกาศหอกระจายข่าวทุกหลังคาเรือนจะร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างเคยชิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สสส