วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติความเป็นมา ชาวบ้านดอนหลี่ ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เดิมตั้งแต่บรรพบุรุษอพยพมาจากลาวชาวเวียงจันทร์ มาอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มโนนกระสังข์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านนาวา ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น จึงชักชวนผู้คนแยกออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ ซึ่งมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นลำห้วยไหลผ่าน มีฝูงปลามากมาย ชาวบ้านในพื้นที่จึงจับใช้ประกอบเป็นอาหาร และสร้างเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ทำมาจากไม้ไผ่ มีชื่อว่า หลี่ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะเครื่องมือจับปลานี้ว่า บ้านดอนหลี่ ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายทอง ศรีเลิศ และมีสถานบริการสาธารณสุขก่อสร้างด้วยทุนผูกพัน ส่งเจ้าหน้าที่ นางบานชื่น เพชรสุริยา ไปศึกษาเล่าเรียน แล้วมาตั้งหน่วยบริการสาธารณสุขในหมู่บ้านนี้
ต่อมาได้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงจัดซื้อที่ิดิน จำนวน 3 ไร่ แล้วย้ายมาให้บริการประชาชน จำนวน 4 หมู่บ้าน และให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานจนถึงปัจจุบันนี้

1. ข้อมูลทั่วไป
   1.1 ข้อมูลพื้นฐาน
          ชื่อหน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนหลี่
          เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอปรางค์กู่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
          สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข
          ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลสมอ  หมู่ 4 ตำบลสมอ
อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 33170
   1.2 สภาพพื้นที่ตั้ง
สถานีอนามัยบ้านดอนหลี่ ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ  ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 220  ถึงแยกบ้านตรางสวาย เข้าอำเภอปรางค์กู่ตามเส้นทาง 2167 ประมาณ 55 กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำเกษตรกรรม 
        อาณาเขตติดต่อ
        ทิศเหนือ          ติดเขตตำบลหนองเชียงทูน
        ทิศใต้              ติดเขตตำบลโพธิ์ศรี
        ทิศตะวันออก     ติดเขตบ้านทุ่งม่อง ตำบลสมอ
        ทิศตะวันตก       ติดเขตตำบลพิมาย
        ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 55 กิโลเมตร
        ห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
        ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
        ห่างจากโรงพยาบาลอำเภอปรางค์กู่ ระยะทาง 5.5 กิโลเมตร
   1.3 ข้อมูลด้านการคมนาคม
           โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนหลี่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอปรางค์กู่ ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ  55 กิโลเมตร การคมนาคมค่อนข้างสะดวก มีรถโดยสารประจำทางจากปรางค์กู่ถึงตัวอำเภอเมืองศรีสะเกษ
    1.4 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
                   ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 และมีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 2 หลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีแรงงานบางส่วนออกไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น
                 รายได้เฉลี่ยประมาณ    8,000 บาท/คน/ปี
    1.5 ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
           ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ภาษาที่ใช้คือ อิสาน
     1.6 ข้อมูลด้านการปกครอง
-   หมู่บ้านรับผิดชอบ                           จำนวน       4 หมู่บ้าน
-   หลังคาเรือน                                  จำนวน    384 หลัง
-   ประชากร                                     จำนวน  2,011 คน
-   แยกเป็น  ชาย                                จำนวน  1,002 คน
-   หญิง                                           จำนวน. 1,009 คน
-   โรงเรียน                                       จำนวน        1 แห่ง
-   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล         จำนวน        1 แห่ง
-   ที่ทำการบริหารส่วนตำบล                  จำนวน        1 แห่ง
-   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                          จำนวน        1 แห่ง
-   วัด                                             จำนวน        2 แห่ง
-   หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน             จำนวน        4 แห่ง
   1.7 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเกษตรกรรม
   1.8 แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้
-   น้ำฝน
-   น้ำบาดาล
-   น้ำประปาหมู่บ้าน
   1.9 ด้านสาธารณสุขมูลฐาน
-   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน    จำนวน 78 คน
-   อัตรา 1: 5 หลังคาเรือน
-   ผู้นำชุมชน                                   จำนวน 4 คน
-   ร้านค้าแผงลอย                             จำนวน - แห่ง
-   ร้านชำ                                       จำนวน 23 แห่ง
-   ชมรมสร้างสุขภาพ                          จำนวน 4 ชมรม
-   ชมรมผู้สูงอายุ                               จำนวน 4 ชมรม
   1.10 อัตรากำลังด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย
-   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 คน
(เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน)
-   เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน                    จำนวน 1 คน
-   พยาบาลวิชาชีพ                                    จำนวน 1 คน
-   พนักงานช่วยการพยาบาล                        จำนวน 1 คน
2. ข้อมูลสถานะสุขภาพ
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนหมู่บ้าน หลังคาเรือน และประชากรในเขตรับผิดชอบ
ลำดับที่
ชื่อหมู่บ้าน
หมู่ที่
หลังคาเรือน
จำนวนประชากร
จำนวน อสม.
ชาย
หญิง
รวม
1
ดอนหลี่
4
124
289
295
584
28
2
เก่าน้อย
8
58
301
304
605
13
3
หนองนกทา
9
78
161
153
314
14
4
ดอนหลี่
10
124
254
256
510
23
384
1,005
1,008
2,011
78
ที่มา :จากโปรแกรม JHCIS วันที่ 27 เม.ย. 2559 รพ.สต.บ้านดอนหลี่

3. สรุปสภาวะสุขภาพและสภาพปัญหา 10 อันดับโรค
          1.โรคระบบทางเดินหายใจ
          2. โรคระบบกล้ามเนื้อ
          3. โรคระบบทางเดินอาหาร
          4. โรคผิวหนังและต่อมใต้ผิวหนัง
          5. โรคระบบประสาท
          6. โรคทางตาและส่วนประกอบของตา
          7. โรคติดเชื้อและปรสิต
          8. โรคทางระบบสืบพันธ์และระบบปัสสาวะ
          9. โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตาบอลิซึม
        10. เนื้องอก(รวมมะเร็ง)
4. ข้อมูลการให้บริการสุขภาพ
          กลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องดูแลและกิจกรรมการให้บริการ 
       1. กลุ่มเด็ก 0-5 ปี
       2. กลุ่มเด็กวัยเรียน 6-12 ปี
       3.  กลุ่มหญิงตั้งครรภ์- หลังคลอด
       4.  กลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ
       5.  กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
       6.  กลุ่มสตรีอายุ 30 60 ปี และ 35 ปีขึ้นไป
       7.  กลุ่มประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
       8.  กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
       9.  กลุ่มประชาชนที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
5. ความท้าทายขององค์กร
         1) โรคที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่
- เลปโตสไปโรซีส
- โรคไข้เลือดออก
- วัณโรค
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคระบบทางเดินอาหาร
         2) กิจกรรมบริการที่เป็นความท้าทายของพื้นที่
        - การให้บริการฝากครรภ์ ตรวจหลังคลอด หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบ ฝากครรภ์ครบทุกคนวิธีดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายคือ ประชุมและมอบหมายเขตรับผิดชอบให้กับ อสม.เพื่อให้คำแนะนำหญิงมีครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และสรุปผลงานส่งตามแบบ อสม.1 ทุกเดือน
      - การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-12 ปี ได้รับบริการวัคซีนคลอบคลุม เกินร้อยละ 90 นอกนั้นเด็กย้ายติดตามผู้ปกครองไปอยู่ที่อื่นวิธีดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายคือ ประชุมและมอบหมายเขตรับผิดชอบให้กับ อสม.เพื่อให้คำแนะนำผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี นำเด็กฉีดวัคซีนตามนัดทุกครั้ง  ถ้าขาดนัด อสม.จะติดตามเพราะอยู่ในเขตรับผิดชอบของตนเอง และสรุปผลงานส่งตามแบบ อสม.1 ทุกเดือน
     - การให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง  กลุ่มเป้าหมายรับบริการตรวจและคัดกรองตามแบบฟอร์มครบ เกินร้อยละ 90  วิธีดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายคือ ประชุมและมอบหมายเขตรับผิดชอบให้กับ อสม.และให้แบบฟอร์มเพื่อซักประวัติประชากรเป้าหมายและตรวจวัดความดันโลหิตคัดกรองเบื้องต้น พบผิดปกติส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อ ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวานซ้ำ และถ้าพบผิดปกติก็ส่งต่อเพื่อพบแพทย์  และทางเจ้าหน้าที่จะสรุปผลการคัดกรองส่งให้ อสม. สรุปผลงานส่งตามแบบ อสม.1 ทุกเดือน
    - รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อควบคุมค่า  BI  ให้ มีค่าเป็น 0    และลดอัตราการเกิดไข้เลือดออกเนื่องจากการตรวจสุ่มหาค่า  BIในระดับตำบลมีค่าสูง และครัวเรือนขาดความตระหนักในการดูแลรักษาความสะอาดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดำเนินการคือ แบ่งครัวเรือน อสม.ที่รับผิดชอบสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันพฤหัสบดี
         2) การพัฒนาคุณภาพสถานบริการ  รางวัลเชิดชูผลงาน / ผลงานเด่น / ความภาคภูมิใจขององค์กร
             การพัฒนาคุณภาพขององค์กร
                    3.พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ใน PCU
                        -  เจ้าหน้าที่ใน PCU ได้รับการประชุมอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพทุกคน
                        -  มีการประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกเดือน และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
                        -  เจ้าหน้าที่ทุกคนให้มีผลงานเด่นและนำเสนอผลงานทางวิชาการ
                    3.ปรับปรุงพัฒนาสถานบริการและสิ่งแวดล้อม
                        -  ปรับปรุงสวนหย่อมภายในสถานบริการ
                        -  ก่อสร้างโรงจอดรถเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบของผู้มารับบริการ 
                        -  ปรับปรุงเคาเตอร์ตู้เก็บเอกสาร ตู้เก็บเวชภัณฑ์ภายในสถานบริการ
                        -  ปรับปรุงและซ่อมแซมห้องน้ำให้ผ่านตามมาตรฐาน
                        -  ปรับปรุงอาคารสถานีอนามัยหลังเก่าเป็นอาคารแพทย์แผนไทยที่ได้มาตรฐาน
                   3.พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ
                        -  จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บันทึกข้อมูลผู้มารับบริการ
                        -  ปรับปรุงระบบInternet ภายในสถานบริการ
              ผลงานเด่นรางวัลเชิดชูเกียรติและความภูมิใจขององค์กร  
                    รางวัลชนะเลิศ ควบคุมและป้องกันลูกน้ำยุงลาย ปี 2555-2558
                       
6. โอกาสการพัฒนา( จุดอ่อน/อุปสรรค)ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
จุดแข็งขององค์กร
    1. มีเครือข่าย อสม. ที่เข้มแข็งจำนวน 78 คนโดยมีการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
    2. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สมทบงบประมาณเข้าร่วมโครงการ สปสช.ทำให้ได้รับการสนับสนุน
      งบประมาณจาก อปท.
    3. มีระบบการสื่อสารสะดวก  มีระบบอินเตอร์เน็ต  และโทรศัพท์
    4. การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องส่วนท้องถิ่นมีความเป็นกันเอง
 จุดอ่อนขององค์กร
    1.  ประชากรในเขตรับผิดชอบน้อยทำให้รายได้ต่อหัวประชากรไม่เพียงพอต่อการพัฒนา
    2.  จำนวนเจ้าหน้าที่น้อยทำให้ภาระงานการทำงานมาก
    3.  ชุมชนยังไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาน้อยเกินไป
7. ประเพณีและวัฒนธรรม
           เดือนอ้าย      ชาวบ้านจะทำบุญเลี้ยงผีต่าง ๆ 
           เดือนยี่         ชาวบ้านจะทำบุญบ้าน  บุญข้าวจี่
           เดือนสาม      ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชาที่วัด  ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าและกลางคืนชาวบ้านจะไปร่วมเวียนเทียน
           เดือนสี่    ทำบุญพระเวส  ฟังเทศน์มหาชาติ  นำของมาถวายที่วัด ซึ่งชาวบ้านเรียก "กัณฑ์หลอน"
           เดือนห้า  ทำบุญขึ้นปีใหม่หรือทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านจะเรียกว่า "ทำบุญกลางบ้าน"
           เดือนหก  งานบุญบั้งไฟ  ขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เพื่อการปลูกพืช
           เดือนเจ็ด   ทำบุญเทวาอารักษ์หลักเมือง (วีรบุรุษ) ซึ่งจะไปประกอบพิธีกรรมที่ดอนเจ้าปู่ตา
           เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา
           เดือนเก้า   ทำบุญข้าวประดับดิน  โดยนำข้าวและอาหารคาวหวานพร้อมหมากพลู ห่อด้วยใบตอง นำไปวางตามต้นไม้และพื้นหญ้าเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
           เดือนสิบ   ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสารท ซึ่งเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           เดือนสิบเอ็ด   ทำบุญออกพรรษา
           เดือนสิบสอง   ทำบุญกฐิน  พิธีถวายกฐิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สสส